การแพร่ระบาดของ Covid-19 ส่งผลให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลก เศรษฐกิจโลกถดถอย
โควิด-19 ทำ เศรษฐกิจไทย หดตัวร้อยละ 6.1 สร้างรอยแผลเป็น (economic scars)
ไม่เคยมีวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใดตั้งแต่ สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จะเลวร้ายเท่ากับการแพร่ระบาดของ Covid-19 ในปี 2563 เศรษฐกิจทั่วโลกถดถอย และเศรษฐกิจไทยหดตัวร้อยละ 6.1 ในปีนี้ เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวดีขึ้นเช่นเดียวกับเศรษฐกิจโลก เมื่อประชากรส่วนใหญ่ได้รับ วัคซีน เมื่อการค้า การท่องเที่ยวกลับมาเป็นปกติ และเมื่อมีนโยบายการเงินและการคลังที่กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเป็นประวัติการณ์ GDP ของประเทศไทยจะกลับเข้าสู่ระดับที่เคยเป็นเมื่อปี 2562 ในปีหน้านี้ และเศรษฐกิจก็จะกลับไปขยายตัวตามศักยภาพที่เคยมีมาก่อนหน้า โควิด-19 เพราะเราเคยเชื่อทฤษฎี วัฏจักรธุรกิจ (business cycle) กันในอดีตที่ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว หดตัว ขึ้นลงเป็นวัฏจักร ตามแนวโน้มของศักยภาพของการเจริญเติบโตในระยะยาว
แต่ถึงอย่างไรไม่น่าจะใช่ เพราะข้อมูลในเชิงประจักษ์ที่ได้หลังจากวิกฤติที่ผ่านมาหลายครั้ง ซึ่งทำให้นักเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน ได้มีความเชื่อกันว่า ถึงแม้วิกฤติแม้จะเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ แต่บาดแผลจากภาวะเศรษฐกิจไทยก็ถดถอยจนสร้างรอย “แผลเป็น” (economic scars) ไปอีกยาวนาน และเหตุนี้ทำให้ศักยภาพของการขยายตัวในระยะยาวลดน้อยลง ยิ่งเป็นประเทศยากจน ศักยภาพของการเจริญเติบโตจะยิ่งลดลงมากจาก “แผลเป็น”
- รอย “แผลเป็น” นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ข้อแรกวิกฤติเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ได้สร้างหนี้ อาทิ หนี้สาธารณะ , หนี้ภาคเอกชน , หนี้ครัวเรือน , หนี้ภาครัฐของประเทศต่างๆที่สูงขึ้น โดยเป็นที่เข้าใจได้เพราะเหตุนี้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายเงินทางด้านสาธารณสุขเพื่อลดการระบาดของโรค ซึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการช่วยเหลือ และเยียวยาผู้ประกอบการ และครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 และในขณะที่การจัดเก็บรายได้ของภาครัฐลดลง เพราะเศรษฐกิจถดถอยทำให้การขาดดุลงบประมาณและหนี้ภาครัฐสูงขึ้น
และเพียงช่วงเวลาแค่ 5 เดือนที่ผ่านมา หนี้สาธารณะของประเทศไทยได้สูงขึ้นจาก ร้อยละ 49.34 ของ GDP คิดเป็นร้อยละ 53.21 เมื่อสิ้น ก.พ. 2564 ซึ่งยังไม่นับส่วนที่จะเพิ่มขึ้นอีกในปี 2564 โดยโครงการต่างๆของภาครัฐยังไม่เสร็จสิ้นลง ก็ยังต้องใช้จ่ายเงินเพื่อจัดการกับการระบาดระลอกใหม่ และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ซึ่งจะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอีก
และถ้ารัฐจะรักษาวินัยทางการคลัง โดยการดูแลไม่ให้ หนี้สาธารณะสูงขึ้นเกินกว่าร้อยละ 60 ของ GDP ก็คงมีผลกับการตั้งงบประมาณในหลายปีต่อจากนี้ให้ขาดดุลน้อยลง โดยจะมีผลต่อการใช้จ่าย ของการลงทุนในภาครัฐ และต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่สุด
โดยส่วนหนี้ ภาคเอกชนก็สูงขึ้นในช่วงวิกฤติ เพราะรายได้ลดลง มีปัญหาสภาพคล่อง ซึ่งจะมีผลต่อการลงทุน และการจ้างงาน หรือการวิจัย และพัฒนาในช่วงต่อไปและลดทอนศักยภาพในการขยายตัวของประเทศ ส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยที่เป็นปัญหาอยู่แล้วก่อน โควิด-19 ก็จะยิ่งสูงขึ้นอีก จากการถูกเลิกจ้างและรายได้ลดเกินระดับร้อยละ 85 ของ GDP ที่ถือเป็นระดับอันตรายต่อการขยายตัวของการบริโภคและเศรษฐกิจโดยรวมในระยะยาว
ประการที่สอง วิกฤติที่เกิดขึ้นลดปัจจัยในการผลิตลง โดยมีผลต่อการขยายตัวในระยะยาว ซึ่งเมื่อเกิดวิกฤติและ เลิกจ้าง แรงงานบางส่วนไหลไปที่ภาคเกษตร หรือเข้าไปใน informal sector บางส่วนทำงานไม่เต็มเวลา และก็มีที่ออกไปจากตลาดแรงงานเป็นการถาวร วิกฤติสั้นๆ กลับกลายเป็นการลดลงของรายได้อย่างถาวร และลดการบริโภคและขยายตัวในระยะยาว ส่วนปัจจัยทุนก็จะไม่เพิ่มมากเพราะการลงทุนลดลง มีธุรกิจที่เลิกกิจการหรือถ้าประคองตัวอยู่ได้ ก็จำเป็นต้องใช้สินค้าทุนที่เสื่อมค่าสึกหรอ เทคโนโลยีที่มากับเครื่องจักรใหม่จะมีน้อยลง ลดศักยภาพและประสิทธิภาพการผลิตในระยะยาว
ประการต่อมา Covid-19 สะท้อนให้เห็นปัญหาการกระจายรายได้ของไทยชัดเจนมากขึ้น และความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้จะมีมากขึ้นไปอีกหลังจากที่เราผ่านวิกฤตินี้ไปแล้ว เพราะจะมีคนจนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นความจำเป็นในแง่ของสังคมและเศรษฐกิจที่รัฐต้องมีภาระหน้าที่ในการแก้ปัญหาความยากจน และการกระจายรายได้ที่อาจมีผลต่อการลงทุนของรัฐและการขยายตัวของประเทศในระยะยาว
ติดตามข่าวสารบทความดีๆจาก เว็บไซต์ : GOFX.CO
หรือทาง Facebook page : GOFX TH