หลายๆคนคงเคยได้ยิน และคุ้นตากันมาบ้างแล้วกับ ตราสารหนี้ การลงทุนอีกหนึ่งรูปแบบที่นักลงทุน
ต่างให้ความสนใจ ที่มุ่งเน้นมองหาความปลอดภัย และต้องการที่จะกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
ตราสารหนี้ เป็นคำรวมๆ ที่ใช้เรียกหลักทรัพย์ชนิดหนึ่งที่ผู้ซื้อตราสารหนี้มีสถานะเป็น เจ้าหนี้ ซึ่งตราสารหนี้ก็คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ลงทุนมีฐานะเป็นผู้ให้กู้ ซึ่งมีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นลูกหนี้ ที่ต้องจ่าย ดอกเบี้ย และมูลค่าไถ่ถอนให้แก่เจ้าหน้าที่ ตราสารหนี้จัดเป็นการลงทุนหนึ่งค่อนข้างจะปลอดภัย และก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่มี ความเสี่ยง เลย
ตราสารหนี้มีอะไรบ้าง
ลักษณะเด่นเลยของตราสารหนี้ ก็คือความหลากหลาย อีกทั้งยังสามารถแบ่งแยกออกมาได้หลายประเภทอีกด้วย ตามคุณลักษณะต่างๆที่แตกต่างกันนั่นเอง โดยประเภทหลักๆ ของตราสารหนี้นั้นประกอบไปด้วย 4 ประเภทหลักๆด้วยกัน มีประเภทอะไรบ้างนั้นมาดูกันเลย
1.แบ่งตามอายุของตราสารหนี้
เฉกเช่นเดียวกันเลยกับสินทรัพย์การลงทุนในประเภทอื่นๆ ซึ่งตราสารหนี้เองก็สามารถแบ่งได้เป็น ตราสารหนี้ระยะสั้น และตราสารหนี้ระยะยาว โดยที่ทางผู้ออกตราสารหนี้นั้น จะเป็นคนกำหนดอายุของตราสารหนี้ หรือว่าเป็นการกำหนดระยะเวลาที่ประสงค์จะให้กู้ยืมนั่นเอง
1.1 ตราสารหนี้ระยะสั้น หรือที่เรียกว่า Short Term Debt Instrument จะมีอายุไม่เกิน 1 ปี อาชิเช่น ตั๋วเงินการคลัง เป็นตราสารหนี้ที่ทางกระทรวงการคลังได้เป็นผู้ที่ออกจำหน่าย โดยมีอายุเพียงแค่ไม่เกิน 1 ปี แต่จะมีข้อจำกัดอยู่ว่าตราสารหนี้ชนิดนี้จะไม่มีผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย แต่จะได้เป็นส่วนต่างของราคาขายแทน
1.2 ตราสารหนี้ ระยะยาว หรือที่เรียกว่า Long Term Debt Instrument จะมีอายุมากกว่า 1 ปี ขึ้นไป ซึ่งตราสารหนี้ชนิดนี้จะมีอยู่เยอะมาก อาทิเช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ หรือจะเป็นจำพวกตราสารหนี้ที่ภาคเอกชนเป็นคนออก หรือหุ้นกู้ เป็นต้น
2.แบ่งตามวิธีการจ่าย ดอกเบี้ย
2.1 ชนิดจ่ายดอกเบี้ยประจำ เป็นประเภทที่จ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่คงที่ โดยทั่วไปมักจะจ่ายดอกเบี้ย 6 เดือนครั้ง
2.2 ชนิดจ่ายดอกเบี้ยลอยตัว ชนิดนี้จะมีอยู่น้อบในตลาด และจะจ่ายดอกเบี้ยในอัตราอ้างอิง
2.3 ชนิดทบดอกเบี้ย จะไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยระหว่างงวด จะจ่ายเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้นเมื่อครบกำหนด
2.4 ชนิดที่ไม่มีการจ่าย ดอกเบี้ย แต่เจ้าของผู้ที่ถือ ตราสารหนี้ จะได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคาขายแทน โดยตราสารจะถูกขายออกในราคาต่ำกว่าที่ตราไว้ และเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน จะสามารถไถ่ถอนคืนได้เท่ากับราคาที่ตราไว้นั่นเอง
3.แบ่งตามลักษณะการออกใบตราสาร
ซึ่งจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ ตราสารชนิดที่ไม่มีใบตราสาร (Scrip) และแบบชนิดไม่มีใบตราสาร (Scripless)
4.แบ่งตามประเภทของผู้ออกตราสารหนี้
สามารถแบ่งแยกออกมาได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
- ตราสารนี้ ที่ออกโดยรัฐบาล อาทิเช่นตราสารหนี้ ประเภทตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ พันธบัตรออมทรัพย์ที่ออกโดยภาครัฐ เป็นต้น
- ตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ
- ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน หรือที่เราได้ยินชื่อที่คุ้นเคยกันดีว่า หุ้นกู้ ตราสารหนี้นี้จะออกโดยเอกชนที่ดะรมทุนไปใช้ในการดำเนินกิจการ และเนื่องด้วยมีความเสี่ยงมากกว่าประเภทที่รัฐบาลออก จึงมี ผลตอบแทน ที่มากกว่านั่นเอง
6 ข้อมูลที่ควรรู้ ก่อนลงทุนในตราสารหนี้
1.ผู้ออก (Issuer)
ต้องมีการระบุชื่อผู้ออกตราสารหนี้หรือผู้กู้ว่าเป็นใคร ซึ่งเป็นผู้ชำระคืนเงินต้นและจ่ายดอกเบี้ย
2.การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating)
โอกาสในการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกหรือตราสารหนี้ จะออกมาในรูปแบบของอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วที่เพิ่มขึ้น จาก ผลตอบแทน ของตราสารหนี้ที่ปลอดความเสี่ยง
3.อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate)
อัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกจะต้องจ่ายให้กับผู้ถือตราสารหนี้ มักกำหนดให้มีการจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน
5.วันครบกำหนดไถ่ถอน (Maturity Date)
วันหมดอายุของตราสารหนี้ที่ผู้ออกจะต้องจ่ายคืนเงินต้น และดอกเบี้ยงวดสุดท้ายให้แก่ผู้ถือตราสารหนี้
6.ข้อสัญญา และประเภทของ ตราสารหนี้ (Covenant)
เงื่อนไขข้อกำหนดสิทธิที่ผู้ออกตราสารหนี้จะต้องปฏิบัติ หรืองดเว้นการปฏิบัติตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น เช่น การดำรงสัดส่วนหนี้สินส่วนของผู้ถือหุ้น ไม่เกินอัตราส่วนที่กำหนด (D/E Ratio), การให้สิทธิในการไถ่ถอนตราสารก่อนกำหนด (Call Option)
5 เหตุผลหลักของการลงทุนในตราสารหนี้
1.รักษาเงินต้น
2.ออมเงิน
3.ปกป้องอำนาจซื้อจากเงินเฟ้อ
4.กระจายความเสี่ยง
5.รับผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ
5 ความเสี่ยง ของการลงทุนใน ตราสารหนี้
1.ความเสี่ยงในการผิดชำระหนี้ (Credit / Default Risk)
ระดับความสำคัญ : สำคัญที่สุด
“หน้าตาอย่างนี้ จะเบี้ยวหนี้เราไหมนะ?”
2.ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง (Liquidity Risk)
ระดับความสำคัญ : สำคัญ
“อยากขายหรอ แต่ฉันไม่อยากซื้ออะ”
3.ความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ย (Interest rate Risk)
ระดับความสำคัญ : สำคัญมากๆ
“ดอกเบี้ยขึ้น ราคาร่วง ขายขาดทุน”
4.ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ (Inflation Risk)
ระดับความสำคัญ : สำคัญ
“ได้เงินครบ แต่ซื้อของได้น้อย”
5.ความเสี่ยงจากการนำเงินไปลงทุนต่อ (Reinvestment Risk)
ระดับความสำคัญ : ควรให้ความสำคัญ
“อยากได้ดอกเบี้ยสูงๆอย่างที่เคยได้ ไม่มีเลยหรอ?”
ตราสารหนี้ นี้เป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่มองว่ามีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง เหมาะมากกับสำหรับนักลงทุนที่ต้องการที่จะลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงมี ผลตอบแทน
ติดตามข่าวสารบทความดีๆจาก เว็บไซต์ : GOFX.CO
หรือทาง Facebook page : GOFX TH